ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่บล๊อกของ นางสาวธันยพร จันทร์จับเมฆ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เศรษฐศาสตร์

ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
สาระสำคัญ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสนองความ
ต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับการดำรงชีพให้ดีขึ้น
ผลการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจ

พฤติกรรมชี้วัด   1. อธิบายความหมายของวิชาเศรษฐศาสาตร์และปัจจัยสำคัยในการตัดสินใจได้
                                     2. บอกหน่วยเศรษฐกิจและปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้
                                       3. บอกระบบเศรษฐกิจได้
1. ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ 
วิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทีศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย และจำหน่ายจ่ายแจกไปยังบุคคลกลุ่มต่างๆ ของสังคมหนึ่งๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  อ่านต่อ...


วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน้าที่พลเมือง

หน้าที่พลเมือง
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น ตู้โทศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นต้น รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
2. วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ  อ่านต่อ...

สึนามิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่ากลัว

ย้อนรอย สึนามิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่ากลัว 



         จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ถาโถมเข้าใส่นานาประเทศตั้งแต่ต้นปี 2554 ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 22 กุภาพันธ์ 2554 ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่คร่าชีวิตของประชากรถึง 200 ราย หรือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 ที่เขย่าพื้นที่มณฑลยูนนาน จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 ศพ และบาดเจ็บอีก 174 คน รวมถึงเหตุการณ์สึนามิที่่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีความรุนแรงถึง 8.9 ริกเตอร์ และเกิดคลื่นสึนามิความสูง 10 เมตร เข้ากระหน่ำพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นหายนะครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ และล่าสุด (11 เมษายน) เกิดแผ่นดินไหว 8.6 ริกเตอร์ โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใต้ทะเลลึกราว 33 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่ง เมืองบันดาร์อาเจะห์ ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ราว 434 กิโลเมตร   อ่านต่อ... 

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สหกรณ์

 
 
ปัจจุบันเป็นไปตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ.2548 กำหนดไว้ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้


1. สหกรณ์การเกษตร
2. สหกรณ์ประมง
3. สหกรณ์นิคม
4. สหกรณ์ร้านค้า
5. สหกรณ์บริการ
6. สหกรณ์ออมทรัพย์
7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน


 
ประเภทสหกรณ์ คือ กลุ่มสหกรณ์ที่มีความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์หลักอย่างเดียวกัน เช่น กลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มสหกรณ์ประมง กลุ่มสหกรณ์นิคม กลุ่มสหกรณ์ร้านค้า ฯลฯ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัํญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542

วัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ 
          ความคาดหวังหรือสิ่งที่ต้องการที่มีนัยสำคัญในการดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกของสหกรณ์ เช่น วัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์การเกษตร ได้แก่ การให้บริการสินเชื่อแก่สมาชิก การรวมกันซื้อวัสดุอุปกรณ์การผลิตและสินค้าอุปโภคบริโภค การรวมกันขายและหรือแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อขายหรือการตลาด ซึ่งรวมทั้งการคัดขนาดหรือคุณภาพผลผลิต การเก็บรักษาการขนส่ง ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หลักดังกล่าวข้างต้น เช่น บริการน้ำเพื่อการเกษตร บริการใช้เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ร่วมกัน บริการส่งเสริมแนะนำทางวิชาการ เป็นต้น     อ่านต่อ...